กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย
สำนักงาน ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จังหวัดระยอง
สถิติการบริการสาธารณภัย ดาวน์โหลด แบบประเมินความพึงพอใจ รายงานสรุปความพึงพอใจ สนง.ปภ.ระยอง แผนสาธารณภัย
หนังสือราชการ
ประกาศเขตพื้นที่ประสบสาธารณภัย/เขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (อุทกภัย) ในพื้นที่อำเภอเขาชะเมา
ประกาศเขตพื้นที่ประสบสาธารณภัย/เขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (อุทกภัย) ในพื้นที่อำเภอนิคมพัฒนา
ประกาศเขตพื้นที่ประสบสาธารณภัย/เขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (อุทกภัย) ในพื้นที่อำเภอวังจันทร์
ประกาศเขตพื้นที่ประสบสาธารณภัย/เขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (อุทกภัย) ในพื้นที่อำเภอบ้านค่าย
ประกาศเขตพื้นที่ประสบสาธารณภัย/เขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (อุทกภัย) ในพื้นที่อำเภอแกลง
ประกาศเขตพื้นที่ประสบสาธารณภัย/เขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (อุทกภัย) ในพื้นที่อำเภอเมืองระยอง
ประกาศแจ้งเตือนฯ
ด่วนที่สุด เรียน นายอำเภอทุกอำเภอ/ผู้อำนวยการอำเภอ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง/รองผู้อำนวยการจังหวัดนายกเทศมนตรีนครระยอง นายกเทศมนตรีเมืองมาบตาพุด นายกเทศมนตรีเมืองบ้านฉาง/ผู้อำนวยการท้องถิ่น กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดระยอง ได้ติดตามสภาวะอากาศและพิจารณาปัจจัยเสี่ยงจากกรมอุตุนิยมวิทยา พบว่า ในช่วงวันที่ 18 – 21 มิถุนายน 2564 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยจะมีกำลังอ่อนลง ทำให้ประเทศไทยมีฝนลดลง แต่ยังมีฝนตกหนักบริเวณภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามัน และอ่าวไทยตอนบนจะมีกำลังอ่อนลง โดยบริเวณทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อม เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์พายุฝนฟ้าคะนองและคลื่นลมแรง ขอให้ท่านดำเนินการ ดังนี้ 1. การเตรียมความพร้อม 1.1 การเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์อุทกภัย ให้มอบหมายเจ้าหน้าที่ติดตาม ข้อมูลสภาพอากาศ สถานการณ์น้ำ และเหตุการณ์ที่อาจส่งผลให้เกิดสาธารณภัยในช่วงฤดูฝน รวมทั้งวิเคราะห์ และประเมินสถานการณ์น้ำในพื้นที่ เพื่อใช้เป็นข้อมูลสนับสนุนการตัดสินใจของผู้อำนวยการแต่ละระดับ สำหรับใช้ในการสื่อสาร แจ้งเตือนประชาชน ตลอดจนการเตรียมความพร้อมในการเผชิญเหตุ ได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์และสภาพพื้นที่ 1.2 การจัดทำแผนเผชิญเหตุอุทกภัย ให้ทบทวนและปรับปรุงแผนเผชิญเหตุอุทกภัยของอำเภอให้เหมาะสม สอดคล้องกับสถนการณ์ปัจจุบัน โดยให้ความสำคัญกับการจัดทำรายละเอียดในประเด็น ดังนี้ (1) ข้อมูลพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยในระดับหมู่บ้าน/ชุมชน โดยการประเมินสถานการณ์ความเสี่ยงปัจจุบัน ประกอบกับข้อมูลการเกิดอุทกภัยที่เคยเกิดขึ้นในพื้นที่ เพื่อให้ข้อมูลพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันมากที่สุด (2) รายการเครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องจักรกลสาธารณภัยของหน่วยงานที่มีความพร้อมใช้งานและเหมาะสมตามลักษณะของภัย (3) การกำหนดจุด/พื้นที่ปลอดภัยประจำหมู่บ้าน/ชุมชน เส้นทางการอพยพหน่วยงานผู้รับผิดชอบการเตรียมแผนรองรับการอพยพประชาชน การจัดเตรียมสิ่งอำนวยความสะดวกให้เพียงพอเหมาะสมระหว่างการอพยพ การจัดเตรียมแผนการจัดตั้งศูนย์พักพิงชั่วคราวในพื้นที่ปลอดภัย เพื่อรองรับกรณีผู้ประสบภัยไม่สามารถกลับเข้าที่พักอาศัยได้ และเนื่องจากยังคงมีสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จึงขอให้ความสำคัญกับการจัดทำแนวทางดังกล่าว ให้สอดคล้องกับมาตรการป้องกันโรคของกระทรวงสาธารณสุขด้วย (4) ให้ซักซ้อมแนวทางการปฏิบัติตามแผนเผชิญเหตุอุทกภัยร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเน้นย้ำ บทบาท หน้าที่ ตลอดจนสร้างความเข้าใจถึงกลไกการทำงานร่วมกันตามแนวทางของระบบบัญชาการเหตุการณ์ เมื่อเกิดสถานการณ์อุทกภัย 1.3 การระบายน้ำและการเพิ่มพื้นที่รองรับน้ำ ให้กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในแต่ละระดับดำเนินการอย่างเป็นระบบ มีความเชื่อมโยงกัน โดยเฉพาะตามรอยต่อเขตรับผิดชอบที่เป็นเส้นทางน้ำไหลผ่าน และให้ความสำคัญในการดำเนินการ ดังนี้ (1) พื้นที่เสี่ยงในเขตชุมชน พื้นที่สำคัญทางเศรษฐกิจ และเส้นทางคมนาคมที่มักเกิดอุทกภัยเป็นประจำ ให้เร่งทำการขุดลอกท่อระบายน้ำ ดูดเลน ทำความสะอาดร่องน้ำ เพื่อกำจัดสิ่งกีดขวางออกจากทางระบายน้ำ (2) คู คลอง แหล่งน้ำต่าง ๆ ให้เร่งกำจัดวัชพืช ขยะ สิ่งกีดขวางทางน้ำ เพื่อให้สามารถรองรับน้ำฝนและน้ำจากท่อระบายน้ำได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ (3) สำหรับน้ำที่มีการระบาย ขอให้กำหนดแนวทาง และวิธีการในการลำเลียงน้ำไปยังพื้นที่รองรับน้ำต่าง ๆ อาทิ การเปิดทางน้ำ การสูบส่งน้ำไปยังแหล่งน้ำสาธารณะ เป็นต้น เพื่อประโยชน์ ในการกักเก็บน้ำไว้ใช้กรณีเกิดสถานการณ์ฝนทิ้งช่วง 1.4 การแจ้งเตือนภัย เมื่อมีแนวโน้มการเกิดสถานการณ์อุทกภัย วาตภัย และดินถล่มขึ้นในพื้นที่ ให้ดำเนินการตามแนวทาง ดังนี้ (1) แจ้งเตือนไปยังกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในแต่ละระดับตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเตรียมบุคลากร วัสดุอุปกรณ์ เครื่องจักรกลสาธารณภัยให้พร้อมเผชิญเหตุและเตรียมการในพื้นที่เสี่ยงภัยเป็นการล่วงหน้า (2) แจ้งเตือนให้ประชาชนทราบในทุกช่องทาง ทั้งในรูปแบบที่เป็นทางการ และไม่เป็นทางการ อาทิ สื่อสังคมออนไลน์ วิทยุชุมชน หอกระจายข่าวประจำหมู่บ้าน เพื่อให้ประชาชนรับทราบข้อมูลข่าวสาร ตลอดจนแนวทางการปฏิบัติตนให้เกิดความปลอดภัย ช่องทางการแจ้งข้อมูล และการขอรับความช่วยเหลือจากภาครัฐ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (3) กรณีจังหวัดที่มีเส้นทางน้ำเชื่อมต่อกันให้มีการประเมินสถานการณ์ร่วมกันและแจ้งเตือนระหว่างจังหวัดต้นน้ำและจังหวัดปลายน้ำอย่างใกล้ชิด 2. การเผชิญเหตุ เมื่อเกิดหรือคาดว่าจะเกิดสถานการณ์อุทกภัย วาตภัย และดินถล่มในพื้นที่ ให้ยึด แนวทางการจัดการสาธารณภัยในภาวะฉุกเฉิน ตามแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๘ และกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและบรรทาสาธารณภัย โดยดำเนินการตามแนวทาง ดังนี้ 2.1 จัดตั้งศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ระดับอำเภอ และศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉิน ในระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อเป็นศูนย์ควบคุม สั่งการ และอำนวยการหลักในการระดมสรรรพกำลังตลอดจนการประสานการปฏิบัติระหว่างหน่วยงานต่าง ฯ ทั้งฝ่ายพลเรือน หน่วยทหาร องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและองค์กรสาธารณกุศล 2.2 ให้มอบหมายฝ่ายปกครอง กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำชุมชน ตลอดจนอาสาสมัครประชาชนจิตอาสาเตรียมความพร้อมเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงในชุมชน พื้นที่สำคัญทางเศรษฐกิจ สถานที่สำคัญต่าง ๆ และร่วมกันกำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำเมื่อเกิดฝนตกหนักในพื้นที่ ทั้งนี้ หากมีกรณีน้ำท่วมขัง สร้างความเดือดร้อน ความเสียหายต่อทรัพย์สินของประชาชน ให้เร่งกำหนดแนวทางการระบายน้ำ พร้อมทั้งสั่งใช้เครื่องจักรกลในพื้นที่ของหน่วยงาน ฝ่ายพลเรือน หน่วยทหาร และภาคเอกชน เพื่อเร่งระบายน้ำและเปิดทางน้ำในพื้นที่ 2.3 จัดชุดปฏิบัติการเร่งให้ความช่วยเหลือด้านการดำรงชีพแก่ประชาชนที่ประสบภัยตามวงรอบอย่างต่อเนื่อง อาทิ การจัดตั้งโรงครัวพระราชทาน ความช่วยเหลือด้านอาหาร น้ำดื่มการรักษาพยาบาล โดยอย่าให้เกิดความซ้ำซ้อนในการปฏิบัติ และเชิญชวนประชาชนจิตอาสา มีส่วนร่วมกับภาครัฐในการให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัย 2.4 กรณีบ้านเรือนประชาชนได้รับความเสียหาย ให้บูรณาการหน่วยงานเป็นทีมช่างในพื้นที่ ทั้งหน่วยทหาร ตำรวจ ฝ่ายปกครอง สถาบันการศึกษา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตลอดจนประชาชนจิตอาสา เพื่อเร่งซ่อมแซมบ้านเรือนประชาชนโดยเร็ว 2.5 กรณีเส้นทางคมนาคมได้รับความเสียหาย หรือถูกน้ำท่วมจนประชาชนไม่สามารถใช้ยานพาหนะสัญจรได้ ให้จัดทำป้ายแจ้งเตือนพร้อมทั้งจัดเจ้าหน้าที่อำนวยความสะดวกการจราจร แนะนำเส้นทางเลี่ยงที่ปลอดภัย รวมทั้งจัดยานพาหนะที่เหมาะสม อาทิ เรือ รถยกสูง เพื่อให้ความช่วยเหลือประชาชนและให้เร่งซ่อมแซมเส้นทางที่ชำรุด/ถูกตัดขาด เพื่อให้ประชาชนใช้สัญจรได้โดยเร็ว 2.6 เน้นย้ำการสื่อสารสร้างการรับรู้ให้กับประชาชนในช่วงเกิดสถานการณ์อุทกภัย ผ่านสื่อมวลชน ตลอดจนสื่อแขนงต่าง ๆ และสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อให้เกิดความเข้าใจถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาของภาครัฐอย่างต่อเนื่อง 2.7 ให้รายงานสถานการณ์อุทกภัย วาตภัย น้ำป่าไหลหลาก และดินถล่มที่เกิดขึ้นต่อกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดระยองทราบ และหากเกิดสาธารณภัยขึ้นในพื้นที่ ให้รายงานสถานการณ์ความเสียหาย ผลกระทบที่เกิดกับประชาชน และการให้ความช่วยเหลือในเบื้องต้น ให้ทราบในทันที ทางหมายเลขโทรศัพท์/โทรสาร 0 3869 4129 , 34 และรายงานทุกระยะจนกว่าสถานการณ์จะสิ้นสุด จึงเรียนมาเพื่อพิจารณาดำเนินการ ขอแสดงความนับถือ (นายยุทธพล องอาจอิทธิชัย) รองผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง ปฏิบัติราชการแทน ผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง ผู้อำนวยการจังหวัด
ด่วนที่สุด ด้วย กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดระยอง ได้ติดตามสภาวะอากาศ และพิจารณาปัจจัยเสี่ยงจากกรมอุตุนิยมวิทยา พบว่า ในช่วงวันที่ 8 – 10 มิถุนายน 2564 หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณอ่าวตังเกี๋ย ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ตลอดช่วง ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณประเทศไทยจะมีฝนฟ้าคะนองกระจายกับมีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีกำลังแรงขึ้น บริเวณทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 2-4 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนบริเวณอ่าวไทยตอนบนคลื่นสูง ประมาณ 2 เมตร และบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อนึ่ง ในช่วงวันที่ 11 – 14 มิถุนายน 2564 หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณอ่าวเบงกอลตอนบน มีแนวโน้มจะทวีกำลังแรงขึ้น ทำให้มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย อย่างต่อเนื่อง ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 8 – 14 มิถุนายน 2564 ขอให้ประชาชนบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ ระวังอันตรายจากฝนที่ตกหนักไว้ด้วย สำหรับชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทย ควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง เรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนงดออกจากฝั่งในระยะนี้ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อม เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์พายุฝนฟ้าคะนอง และฝนตกหนักบางแห่ง ขอให้ท่านดำเนินการ ดังนี้ 1. แจ้งเตือนประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยที่ราบลุ่ม/ ที่ลาดเขา ใกล้ทางน้ำไหลผ่าน ให้ระมัดระวังฝนตกหนัก ฝนตกสะสม ที่อาจเป็นเหตุให้เกิดวาตภัย คลื่นลมแรง น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมขัง และดินโคลนถล่ม หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งก่อสร้างและป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง รวมทั้งอันตรายจากฟ้าผ่า เกษตรกรควรป้องกันผลผลิตทางการเกษตรที่อาจได้รับความเสียหายสำหรับชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทย ควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง และเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันควรงดออกจากฝั่ง 2.วิเคราะห์และประเมินสถานการณ์จากปัจจัยต่าง ๆ ได้แก่ สภาวะอากาศและปัจจัยสภาพ ความเสี่ยงในพื้นที่ เพื่อประสานและบูรณาการหน่วยงานพลเรือน ทหาร ตำรวจ เครือข่ายอาสาสมัคร จิตอาสา ภาคเอกชน เตรียมพร้อมทรัพยากร เครื่องมืออุปกรณ์และแผนเผชิญเหตุ โดยให้ความสำคัญในการแจ้งเตือน พร้อมเข้าช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบ ประสานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ให้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด รวมทั้งสร้างการรับรูปให้กับประชานชนในทุกช่องทาง ทั้งในรูปแบบที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ เช่น สื่อสังคมออนไลน์ วิทยุชุมชน หอเตือนภัย หอกระจายข่าวประจำหมู่บ้าน 3.ประชาสัมพันธ์ถึงประชาชนในพื้นที่ หากพบเห็นหรือได้รับผลกระทบ และต้องการความช่วยเหลือเมื่อเกิดสถานการณ์ภัยพิบัติ สามารถแจ้งเหตุผ่านทางโทรศัพท์สายด่วน 1784 หรือแจ้งผ่านไลน์ “ปภ.รับแจ้งเหตุ 1784” โดยดำเนินการเพิ่มเพื่อน Line ID @1784DDPM ตลอด 24 ชั่วโมง 4.ให้พิจารณาใช้อุปกรณ์เตือนภัยที่มีในพื้นที่ เช่น หอเตือนภัย หอกระจายข่าว เครื่องรับสัญญาณเตือนภัยผ่านดาวเทียม เพื่อแจ้งเตือนประชาชน 5.รายงานผลการปฏิบัติในการเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์ ให้กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดระยองทราบ ผ่านสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดระยอง และหากเกิด สาธารณภัยขึ้นในพื้นที่ ให้รายงานสถานการณ์ความเสียหาย ผลกระทบที่เกิดกับประชาชน และการให้ความช่วยเหลือ ในเบื้องต้น ให้ทราบในทันที ทางหมายเลขโทรศัพท์/โทรสาร 0 3869 4129 , 34 และรายงานทุกระยะ จนกว่าสถานการณ์จะสิ้นสุด (นายยุทธพล องอาจอิทธิชัย) รองผู้ว่าราชกาจังหวัดระยอง ปฏิบัติราชการแทน ผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง ผู้อำนวยการจังหวัด
ด่วนที่สุด จาก ผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง ถึง นายอำเภอทุกอำเภอ/ผู้อำนวยการอำเภอ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง/รองผู้อำนวยการจังหวัด นายกเทศมนตรีนครระยอง นายกเทศมนตรีเมืองมาบตาพุด และนายกเทศมนตรีเมืองบ้านฉาง/ผู้อำนวยการท้องถิ่น ผู้อำนวยการแขวงทางหลวงระยอง และผู้อำนวยการแขวงทางหลวงชนบทระยอง ด้วย กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดระยอง ได้ ติดตามสภาวะอากาศ และพิจารณาปัจจัยเสี่ยงจากกรมอุตุนิยมวิทยา พบว่า ในช่วงวันที่ 5 - 7 มิถุนายน 2564 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณประเทศไทยจะมีฝนเพิ่มขึ้นกับมีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนจะมีกำลังปานกลางโดยบริเวณทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ประชาชนบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ ระวังอันตรายจากฝนที่ตกหนักและฝนที่ ตกสะสม ไว้ด้วย สำหรับชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทย ควรเพิ่ม ความระมัดระวังในการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อม เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์พายุฝนฟ้าคะนอง และฝนตกหนักบางแห่ง ขอให้ท่านดำเนินการ ดังนี้ 1. แจ้งเตือนประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยที่ราบลุ่ม/ ที่ลาดเขา ใกล้ทางน้ำไหลผ่าน ให้ระมัดระวังฝนตกหนัก ฝนตกสะสม ที่อาจเป็นเหตุให้เกิดวาตภัย คลื่นลมแรง น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมขัง และดินโคลนถล่ม หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งก่อสร้างและป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง รวมทั้งอันตรายจากฟ้าผ่า เกษตรกรควรป้องกันผลผลิตทางการเกษตรที่อาจได้รับความเสียหายสำหรับชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทย ควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง และเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันควรงดออกจากฝั่ง 2.วิเคราะห์และประเมินสถานการณ์จากปัจจัยต่าง ๆ ได้แก่ สภาวะอากาศและปัจจัยสภาพ ความเสี่ยงในพื้นที่ เพื่อประสานและบูรณาการหน่วยงานพลเรือน ทหาร ตำรวจ เครือข่ายอาสาสมัคร จิตอาสา ภาคเอกชน เตรียมพร้อมทรัพยากร เครื่องมืออุปกรณ์และแผนเผชิญเหตุ โดยให้ความสำคัญในการแจ้งเตือน พร้อมเข้าช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบ ประสานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ให้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด รวมทั้งสร้างการรับรูปให้กับประชานชนในทุกช่องทาง ทั้งในรูปแบบที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ เช่น สื่อสังคมออนไลน์ วิทยุชุมชน หอเตือนภัย หอกระจายข่าวประจำหมู่บ้าน 3.ประชาสัมพันธ์ถึงประชาชนในพื้นที่ หากพบเห็นหรือได้รับผลกระทบ และต้องการความช่วยเหลือเมื่อเกิดสถานการณ์ภัยพิบัติ สามารถแจ้งเหตุผ่านทางโทรศัพท์สายด่วน 1784 หรือแจ้งผ่านไลน์ “ปภ.รับแจ้งเหตุ 1784” โดยดำเนินการเพิ่มเพื่อน Line ID @1784DDPM ตลอด 24 ชั่วโมง 4.ให้พิจารณาใช้อุปกรณ์เตือนภัยที่มีในพื้นที่ เช่น หอเตือนภัย หอกระจายข่าว เครื่องรับสัญญาณเตือนภัยผ่านดาวเทียม เพื่อแจ้งเตือนประชาชน 5.รายงานผลการปฏิบัติในการเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์ ให้กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดระยองทราบ ผ่านสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดระยอง และหากเกิด สาธารณภัยขึ้นในพื้นที่ ให้รายงานสถานการณ์ความเสียหาย ผลกระทบที่เกิดกับประชาชน และการให้ความช่วยเหลือ ในเบื้องต้น ให้ทราบในทันที ทางหมายเลขโทรศัพท์/โทรสาร 0 3869 4129 , 34 และรายงานทุกระยะ จนกว่าสถานการณ์จะสิ้นสุด (นายยุทธพล องอาจอิทธิชัย) รองผู้ว่าราชกาจังหวัดระยอง ปฏิบัติราชการแทน ผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง ผู้อำนวยการจังหวัด
ด่วนที่สุด จาก ผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง ถึง นายอำเภอทุกอำเภอ/ผู้อำนวยการอำเภอ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง/รองผู้อำนวยการจังหวัด นายกเทศมนตรีนครระยอง นายกเทศมนตรีเมืองมาบตาพุด และนายกเทศมนตรีเมืองบ้านฉาง/ผู้อำนวยการท้องถิ่น ผู้อำนวยการแขวงทางหลวงระยอง และผู้อำนวยการแขวงทางหลวงชนบทระยอง ด้วย กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดระยอง ได้ติดตามสภาวะอากาศ และพิจารณาปัจจัยเสี่ยงจากกรมอุตุนิยมวิทยา พบว่า ในช่วงวันที่ 25-29 พฤษภาคม 2564 ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ลักษณะเช่นนี้ ทำให้บริเวณบริเวณดังกล่าวมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีกำลังแรง โดยบริเวณทะเลอันดามันคลื่นสูง 2-4 เมตร ส่วนบริเวณอ่าวไทยคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อม เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์พายุฝนฟ้าคะนองและฝนตกหนักบางแห่ง ขอให้ท่านดำเนินการ ดังนี้ (1) แจ้งเตือนประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยที่ราบลุ่ม/ ที่ลาดเขา ใกล้ทางน้ำไหลผ่าน ให้ระมัดระวังฝนตกหนัก ฝนตกสะสม ที่อาจเป็นเหตุให้เกิดวาตภัย คลื่นลมแรง น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมขัง และดินโคลนถล่ม หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งก่อสร้างและป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง รวมทั้งอันตรายจากฟ้าผ่า เกษตรกรควรป้องกันผลผลิตทางการเกษตรที่อาจได้รับความเสียหายสำหรับชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทย ควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง และเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันควรงดออกจากฝั่ง (2) วิเคราะห์และประเมินสถานการณ์จากปัจจัยต่าง ๆ ได้แก่ สภาวะอากาศและปัจจัยสภาพ ความเสี่ยงในพื้นที่ เพื่อประสานและบูรณาการหน่วยงานพลเรือน ทหาร ตำรวจ เครือข่ายอาสาสมัคร จิตอาสา ภาคเอกชน เตรียมพร้อมทรัพยากร เครื่องมืออุปกรณ์และแผนเผชิญเหตุ โดยให้ความสำคัญในการแจ้งเตือน พร้อมเข้าช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบ ประสานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ให้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด รวมทั้งสร้างการรับรูปให้กับประชานชนในทุกช่องทาง ทั้งในรูปแบบที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ เช่น สื่อสังคมออนไลน์ วิทยุชุมชน หอเตือนภัย หอกระจายข่าวประจำหมู่บ้าน (3) ประชาสัมพันธ์ถึงประชาชนในพื้นที่ หากพบเห็นหรือได้รับผลกระทบ และต้องการความช่วยเหลือเมื่อเกิดสถานการณ์ภัยพิบัติ สามารถแจ้งเหตุผ่านทางโทรศัพท์สายด่วน 1784 หรือแจ้งผ่านไลน์ “ปภ.รับแจ้งเหตุ 1784” โดยดำเนินการเพิ่มเพื่อน Line ID @1784DDPM ตลอด 24 ชั่วโมง (4) ให้พิจารณาใช้อุปกรณ์เตือนภัยที่มีในพื้นที่ เช่น หอเตือนภัย หอกระจายข่าว เครื่องรับสัญญาณเตือนภัยผ่านดาวเทียม เพื่อแจ้งเตือนประชาชน (5) รายงานผลการปฏิบัติในการเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์ ให้กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดระยองทราบ ผ่านสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดระยอง และหากเกิด สาธารณภัยขึ้นในพื้นที่ ให้รายงานสถานการณ์ความเสียหาย ผลกระทบที่เกิดกับประชาชน และการให้ความช่วยเหลือ ในเบื้องต้น ให้ทราบในทันที ทางหมายเลขโทรศัพท์/โทรสาร 0 3869 4129 , 34 และรายงานทุกระยะ จนกว่าสถานการณ์จะสิ้นสุด (นายยุทธพล องอาจอิทธิชัย) รองผู้ว่าราชกาจังหวัดระยอง ปฏิบัติราชการแทน ผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง ผู้อำนวยการจังหวัด
ด่วนที่สุด จาก ผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง ถึง นายอำเภอทุกอำเภอ/ผู้อำนวยการอำเภอ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง/รองผู้อำนวยการจังหวัด นายกเทศมนตรีนครระยอง นายกเทศมนตรีเมืองมาบตาพุด และนายกเทศมนตรีเมืองบ้านฉาง/ผู้อำนวยการท้องถิ่น ผู้อำนวยการแขวงทางหลวงระยอง และผู้อำนวยการแขวงทางหลวงชนบทระยอง ด้วย กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดระยอง ได้ติดตามสภาวะอากาศ และพิจารณาปัจจัยเสี่ยงจากกรมอุตุนิยมวิทยา พบว่า ช่วงระหว่างวันที่ 19 - 24 พฤษภาคม 2564 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย มีกำลังแรงขึ้น ทำให้ประเทศไทย มีฝนเพิ่มมากขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น โดยบริเวณทะเลอันดามันคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนบริเวณอ่าวไทยคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ประชาชนบริเวณภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ ระวังอันตรายจากฝนที่ตกหนักไว้ด้วย สำหรับชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อม เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์พายุฝนฟ้าคะนอง และฝนตกหนักบางแห่ง ขอให้ท่านดำเนินการ ดังนี้ 1. ติดตามสถานการณ์ข้อมูลสภาวะอากาศและข่าวสารจากทางราชการ ประชาสัมพันธ์ สร้างการรับรู้ให้กับประชาชน ระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้งใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งก่อสร้างและป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง รวมถึงอันตรายจากฟ้าผ่า สำหรับเกษตรกรควรป้องกันผลิตผลทางการเกษตรที่อาจได้รับความเสียหายด้วย 2. วิเคราะห์และประเมินสถานการณ์จากปัจจัยต่าง ๆ ได้แก่ สภาวะอากาศและปัจจัยสภาพ ความเสี่ยงในพื้นที่ เพื่อประสานและบูรณาการหน่วยงานพลเรือน ทหาร ตำรวจ เครือข่ายอาสาสมัคร จิตอาสา ภาคเอกชน เตรียมพร้อมทรัพยากร เครื่องมืออุปกรณ์และแผนเผชิญเหตุ โดยให้ความสำคัญในการแจ้งเตือน พร้อมเข้าช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบ ประสานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ให้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด รวมทั้งสร้างการรับรูปให้กับประชานชนในทุกช่องทาง ทั้งในรูปแบบที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ เช่น สื่อสังคมออนไลน์ วิทยุชุมชน หอเตือนภัย หอกระจายข่าวประจำหมู่บ้าน 3. ประชาสัมพันธ์ถึงประชาชนในพื้นที่ หากพบเห็นหรือได้รับผลกระทบ และต้องการความช่วยเหลือเมื่อเกิดสถานการณ์ภัยพิบัติ สามารถแจ้งเหตุผ่านทางโทรศัพท์สายด่วน 1784 หรือแจ้งผ่านไลน์ “ปภ.รับแจ้งเหตุ 1784” โดยดำเนินการเพิ่มเพื่อน Line ID @1784DDPM ตลอด 24 ชั่วโมง 4. ให้พิจารณาใช้อุปกรณ์เตือนภัยที่มีในพื้นที่ เช่น หอเตือนภัย หอกระจายข่าว เครื่องรับสัญญาณเตือนภัยผ่านดาวเทียม เพื่อแจ้งเตือนประชาชน 5. รายงานผลการปฏิบัติในการเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์ ให้กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดระยองทราบ ผ่านสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดระยอง และหากเกิด สาธารณภัยขึ้นในพื้นที่ ให้รายงานสถานการณ์ความเสียหาย ผลกระทบที่เกิดกับประชาชน และการให้ความช่วยเหลือ ในเบื้องต้น ให้ทราบในทันที ทางหมายเลขโทรศัพท์/โทรสาร 0 3869 4129 , 34 และรายงานทุกระยะ จนกว่าสถานการณ์จะสิ้นสุด (นายยุทธพล องอาจอิทธิชัย) รองผู้ว่าราชกาจังหวัดระยอง ปฏิบัติราชการแทน ผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง ผู้อำนวยการจังหวัด
ประมวลภาพกิจกรรม
วันนี้ (วันจันทร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ.2565) นายชาญนะ เอี่ยมแสง ผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง เป็นประธานในการประชุมกรมการจังหวัด หัวหน้าส่วนราชการและหัวหน้าหน่วยงานประจำจังหวัด ครั้งที่ 3/2565 ประจำเดือนมีนาคม 2565 เพื่อรับทราบนโยบายเร่งด่วน ตลอดจนข้อหารือข้อราชการงานที่สำคัญต่างๆ ของจังหวัดระยอง ในการนี้ นายอัธยา นวลอุทัย หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดระยอง ได้เข้าร่วมประชุม เพื่อรายงานข้อมูลด้านการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนจังหวัดระยอง ให้ที่ประชุมรับทราบผลการดำเนินงาน ณ ห้องประชุมภักดีศรีสงคราม ชั้น 4 ศาลากลางจังหวัดระยอง อำเภอเมืองระยอง
วันที่ 8 เมษายน 2564 เวลา 14.00 น. ณ บริเวณศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา ระยอง อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง ผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง (นายชาญนะ เอี่ยมแสง) มอบหมายให้ รองผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง (นายยุทธพล องอาจอิทธิชัย)เป็นประธานพิธีเปิดศูนย์ปฏิบัติการร่วมป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน ช่วงเทศกาลสงกรานต์ ปี 2564 และมีนายอัธยา นวลอุทัย หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดระยอง กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ของการจัดงาน ภายใต้หัวข้อรณรงค์ "สงกรานต์สุขใจ ขับขี่ปลอดภัย ห่างไกลโควิด” ซึ่งมีหน่วยงานภาครัฐ เอกชน อาสาสมัคร กู้ภัย และประชาชน เข้าร่วมงาน จำนวน 300 คน โดยมีกิจกรรมการจัดนิทรรศการรณรงค์ฯ การรับมอบสิ่งของเพื่อใช้ในการรณรงค์ฯ และมีทำพิธีปล่อยแถวสายตรวจชุดผสมกำลังตำรวจ อปพร. อาสาสมัคร หน่วยกู้ภัย และภาคีเครือข่ายของจังหวัด
     เมื่อ วันจันทร์ที่ 22 มี.ค.64 เวลา 09.00 น .ณ องค์การบริหารส่วนจังหวัดจันทบุรี นายชาญนะ เอี่ยมแสง ผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง มอบหมายให้นายอัธยา นวลอุทัย หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดระยอง นำอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนจังหวัดระยอง เข้าร่วมกิจกรรม วัน อปพร.ประจำปี 2564 พร้อมทั้งชมการสาธิต และฝึกซ้อมการใช้อุปกรณ์และเครื่องจักรกลสาธารณภัย ในที่สูงด้วยรถดับเพลิงหอน้ำ ชมการสาธิตการใช้รถดับไฟป่า และการจำลองเหตุการณ์อุบัติเหตุเพลิงไหม้รถยนต์ที่ใช้แก๊สเป็นเชื้อเพลิง ทั้งนี้เพื่อเป็นสร้างการความรู้ ความเข้าใจแก่ อปพร.ในการขอรับการสนับสนุนอุปกรณ์ช่วยชีวิตผู้ประสบภัย โทรสายด่วน 199 และ สายด่วน 1669 การดับเพลิงเบื้องต้น การกันประชาชนออกจากจุดเกิดเหตุป้องกันภัยลุกลาม โดยนายอลงกรณ์ แอคะรัจน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี นำหัวหน้าส่วนราชการ ผู้แทนองค์กรภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องร่วมชมการสาธิต และเป็นกำลังใจแก่เจ้าหน้าที่ หลังจากนั้น รองผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรีเป็นประธานในพิธีปฏิญาณตนเนื่องในวัน อปพร.และอ่านสารจากนายกรัฐมนตรี ซึ่งทุกวันที่ 22 มีนาคม ของปีถือเป็นวันสำคัญของอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน โดยศูนย์ อปพร. กลาง กำหนดให้เป็น “วันอปพร.” เพื่อยกย่องเชิดชูคุณงามความดีของ อปพร. ที่ได้เสียสละอุทิศ กำลังกาย กำลังใจและความรู้ ความสามารถที่มี เข้ามาช่วยเหลือสังคมภายใต้อุดมการณ์ “เมตตา กล้าหาญ” โดยมิได้หวังผลประโยชน์หรือสิ่งตอบแทนใดๆ จนเป็นที่ประจักษ์แก่สังคม ปัจจุบัน อปพร.ถือเป็นพลังภาคประชาชนที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการสนับสนุน ผลักดันนโยบายของรัฐบาล ไปสู่การปฏิบัติในระดับพื้นที่ด้วยความมุ่งมั่น อดทนและเสียละเพื่อช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ให้กับประชาชนในด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย การสร้างความปลอดภัยให้สังคมโดยการจัดกิจกรรม มีผู้บริหารศูนย์ อปพร. / เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ / ผู้นำ อปพร.และสมาชิก จากจังหวัด ชลบุรี,ระยอง,จันทบุรี และ จังหวัดตราด ร่วมกิจกรรมรวม 270 คน
เมื่อ วันพฤหัสบดีที่ 18 มีนาคม 2564 เวลา 08.30 น. นายชาญนะ เอี่ยมแสง ผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง มอบหมายให้นายอัธยา นวลอุทัย หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดระยอง เป็นประธานเปิดการฝึกอบรมโครงการเสริมสร้างศักยภาพชุมชนด้านการป้องกันสาธารณภัยจังหวัดระยอง (CBDRM: Community Based Disaster Risk Management) ประจำปี 2564 เพื่อจัดการปัญหาอุกภัยให้แก่ประชาชนในเขตพื้นที่ตำบลนาตาขวัญ อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง ทั้งนี้ นายยุทธพล องอาจอิทธิชัย รองผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง เดินทางมาตรวจเยี่ยม เพื่อมอบนโยบายและเป็นขวัญกำลังใจให้คณะวิทยากร ตลอดจนผู้เข้ารับการฝึกอบรม โดยในการฝึกอบรมฯ ในครั้งนี้ มีผู้เข้ารับการฝึกอบรมฯ จำนวน 50 คน และมีการฝึกอบรมระหว่างวันที่ 18 – 19 มีนาคม 2564 ณ อาคารกระจายสินค้าทางการเกษตร องค์การบริหารส่วนตำบลนาตาขวัญ อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง
เมื่อ วันศุกร์ที่ 19 มีนาคม 2564 เวลา 13.00 น. นายอัธยา นวลอุทัย หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดระยอง พร้อมด้วยนายตรีรัตน์ หนูแก้วขวัญ หัวหน้ากลุ่มงานยุทธศาสตร์ และการจัดการ นำเจ้าหน้าที่สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จังหวัดระยองเข้าร่วมประชุมหารือสถานการณ์ช้างป่าและการแก้ไข ปัญหาช้างป่าจังหวัดระยอง เพื่อเสนอต่อคณะกรรมาธิการวิสามัญ พิจารณาศึกษาและแก้ไขปัญหาช้างป่า สภาผู้แทนราษฎร ณ ห้องประชุมวิทยสิริเมธี สถาบันวิทยสิริเมธี ภายในโรงเรียนกำเนิดวิทย์ ตำบลป่ายุบใน อำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง
ข่าวประชาสัมพันธ์
การขอร่วมข่ายสื่อสารและใช้ข่ายสื่อสารของประชาชน
การดำเนินโครงการฟื้นฟูบูรณะแหล่งน้ำ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๗ ของกรมป้องกันและบรรเทาสวาธารณภัย
ข่าวประชาสัมพันธ์กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ๒๐ พ.ค. ๒๕๕๗
ข่าวประชาสัมพันธ์กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
สาระน่ารู้
28/3/2559
เลี่ยงพฤติกรรม เร็ว เมา โทร ง่วง ลดเสี่ยงอุบัติเหตุทางถนน
28/3/2559
ขับรถมีสติ - เลี่ยงกิจกรรมขาดสมาธฺิ เพิ่มความปลอดภัยในการเดินทาง
28/3/2559 ปีที่ ๑๑ ฉบับที่ ๙๘ เดือนพฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕.. ปีที่ ๑๑ ฉบับที่ ๙๘ เดือนพฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๗
28/3/2559 แก้ไขเหตุฉุกเฉินถูกวิธี...ลดเสี่ยงอันตรา.. แก้ไขเหตุฉุกเฉินถูกวิธี...ลดเสี่ยงอันตรายบนท้องถนน
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จากป้องกันภัยเชิงรุก ...สู่จัดการภัยภิบัติยั่งยืน ป้องกันภัยเชิงรุก บรรเทาทุกข์เมื่อเกิดภัย ฟื้นฟูและกู้ภัย คือหัวใจ กรม ปภ.
จำนวนผู้เข้าชมในหน้านี้ 6978 ครั้ง