กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย
สำนักงาน ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จังหวัดระยอง
สถิติการบริการสาธารณภัย ดาวน์โหลด แบบประเมินความพึงพอใจ รายงานสรุปความพึงพอใจ สนง.ปภ.ระยอง แผนสาธารณภัย

ประกาศแจ้งเตือนฯ

น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และดินโคลนถล่ม

แจ้งเตือนภัย พายุฝนฟ้าคะนอง และฝนตกหนักบางแห่ง 25-29 พฤษภาคม 2564

ด่วนที่สุด จาก ผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง ถึง นายอำเภอทุกอำเภอ/ผู้อำนวยการอำเภอ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง/รองผู้อำนวยการจังหวัด นายกเทศมนตรีนครระยอง นายกเทศมนตรีเมืองมาบตาพุด และนายกเทศมนตรีเมืองบ้านฉาง/ผู้อำนวยการท้องถิ่น ผู้อำนวยการแขวงทางหลวงระยอง และผู้อำนวยการแขวงทางหลวงชนบทระยอง ด้วย กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดระยอง ได้ติดตามสภาวะอากาศ และพิจารณาปัจจัยเสี่ยงจากกรมอุตุนิยมวิทยา พบว่า ในช่วงวันที่ 25-29 พฤษภาคม 2564 ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ลักษณะเช่นนี้ ทำให้บริเวณบริเวณดังกล่าวมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีกำลังแรง โดยบริเวณทะเลอันดามันคลื่นสูง 2-4 เมตร ส่วนบริเวณอ่าวไทยคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อม เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์พายุฝนฟ้าคะนองและฝนตกหนักบางแห่ง ขอให้ท่านดำเนินการ ดังนี้ (1) แจ้งเตือนประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยที่ราบลุ่ม/ ที่ลาดเขา ใกล้ทางน้ำไหลผ่าน ให้ระมัดระวังฝนตกหนัก ฝนตกสะสม ที่อาจเป็นเหตุให้เกิดวาตภัย คลื่นลมแรง น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมขัง และดินโคลนถล่ม หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งก่อสร้างและป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง รวมทั้งอันตรายจากฟ้าผ่า เกษตรกรควรป้องกันผลผลิตทางการเกษตรที่อาจได้รับความเสียหายสำหรับชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทย ควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง และเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันควรงดออกจากฝั่ง (2) วิเคราะห์และประเมินสถานการณ์จากปัจจัยต่าง ๆ ได้แก่ สภาวะอากาศและปัจจัยสภาพ ความเสี่ยงในพื้นที่ เพื่อประสานและบูรณาการหน่วยงานพลเรือน ทหาร ตำรวจ เครือข่ายอาสาสมัคร จิตอาสา ภาคเอกชน เตรียมพร้อมทรัพยากร เครื่องมืออุปกรณ์และแผนเผชิญเหตุ โดยให้ความสำคัญในการแจ้งเตือน พร้อมเข้าช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบ ประสานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ให้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด รวมทั้งสร้างการรับรูปให้กับประชานชนในทุกช่องทาง ทั้งในรูปแบบที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ เช่น สื่อสังคมออนไลน์ วิทยุชุมชน หอเตือนภัย หอกระจายข่าวประจำหมู่บ้าน (3) ประชาสัมพันธ์ถึงประชาชนในพื้นที่ หากพบเห็นหรือได้รับผลกระทบ และต้องการความช่วยเหลือเมื่อเกิดสถานการณ์ภัยพิบัติ สามารถแจ้งเหตุผ่านทางโทรศัพท์สายด่วน 1784 หรือแจ้งผ่านไลน์ “ปภ.รับแจ้งเหตุ 1784” โดยดำเนินการเพิ่มเพื่อน Line ID @1784DDPM ตลอด 24 ชั่วโมง (4) ให้พิจารณาใช้อุปกรณ์เตือนภัยที่มีในพื้นที่ เช่น หอเตือนภัย หอกระจายข่าว เครื่องรับสัญญาณเตือนภัยผ่านดาวเทียม เพื่อแจ้งเตือนประชาชน (5) รายงานผลการปฏิบัติในการเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์ ให้กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดระยองทราบ ผ่านสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดระยอง และหากเกิด สาธารณภัยขึ้นในพื้นที่ ให้รายงานสถานการณ์ความเสียหาย ผลกระทบที่เกิดกับประชาชน และการให้ความช่วยเหลือ ในเบื้องต้น ให้ทราบในทันที ทางหมายเลขโทรศัพท์/โทรสาร 0 3869 4129 , 34 และรายงานทุกระยะ จนกว่าสถานการณ์จะสิ้นสุด (นายยุทธพล องอาจอิทธิชัย) รองผู้ว่าราชกาจังหวัดระยอง ปฏิบัติราชการแทน ผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง ผู้อำนวยการจังหวัด




จำนวนผู้เข้าชมในหน้านี้ 2991 ครั้ง