กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย
สำนักงาน ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จังหวัดระยอง
หน้าหลัก
เกี่ยวกับ ปภ.ระยอง
วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย
บุคคลากร
ความเป็นมา
ดวงตราสัญลักษณ์
ยุทธศาสตร์
พระราชบัญญัติ
ระเบียบ
ข้อกำหนด
ประมวลภาพกิจกรรม
รายงานประจำวัน
จัดซื้อจัดจ้าง
หนังสือราชการ
ข้อมูลในการเฝ้าระวังฯ
ประกาศแจ้งเตือนฯ
วิเคราะห์ภาพถ่ายดาวเที่ยม
อุปกรณ์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
ระดับน้ำรายชั่วโมง
แผนที่ค่าดัชนีวัดความชุ่มชื้นวกฤติของดิน
สถานการณ์น้ำในจังหวัด
คาดการณ์สภาวะอากาศ
ระบบแจ้งเตือนภัยน้ำท่วม
ติดต่อเรา
สถิติการบริการสาธารณภัย
ดาวน์โหลด
แบบประเมินความพึงพอใจ
รายงานสรุปความพึงพอใจ สนง.ปภ.ระยอง
แผนสาธารณภัย
น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำล้นตลิ่ง และน้ำท่วมขัง
น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และดินโคลนถล่ม
ประกาศแจ้งเตือนฯ
น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และดินโคลนถล่ม
แจ้งเตือนภัย พายุฝนฟ้าคะนอง และฝนตกหนักบางแห่ง 19-24 พฤษภาคม 2564
ด่วนที่สุด จาก ผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง ถึง นายอำเภอทุกอำเภอ/ผู้อำนวยการอำเภอ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง/รองผู้อำนวยการจังหวัด นายกเทศมนตรีนครระยอง นายกเทศมนตรีเมืองมาบตาพุด และนายกเทศมนตรีเมืองบ้านฉาง/ผู้อำนวยการท้องถิ่น ผู้อำนวยการแขวงทางหลวงระยอง และผู้อำนวยการแขวงทางหลวงชนบทระยอง ด้วย กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดระยอง ได้ติดตามสภาวะอากาศ และพิจารณาปัจจัยเสี่ยงจากกรมอุตุนิยมวิทยา พบว่า ช่วงระหว่างวันที่ 19 - 24 พฤษภาคม 2564 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย มีกำลังแรงขึ้น ทำให้ประเทศไทย มีฝนเพิ่มมากขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น โดยบริเวณทะเลอันดามันคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนบริเวณอ่าวไทยคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ประชาชนบริเวณภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ ระวังอันตรายจากฝนที่ตกหนักไว้ด้วย สำหรับชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อม เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์พายุฝนฟ้าคะนอง และฝนตกหนักบางแห่ง ขอให้ท่านดำเนินการ ดังนี้ 1. ติดตามสถานการณ์ข้อมูลสภาวะอากาศและข่าวสารจากทางราชการ ประชาสัมพันธ์ สร้างการรับรู้ให้กับประชาชน ระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้งใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งก่อสร้างและป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง รวมถึงอันตรายจากฟ้าผ่า สำหรับเกษตรกรควรป้องกันผลิตผลทางการเกษตรที่อาจได้รับความเสียหายด้วย 2. วิเคราะห์และประเมินสถานการณ์จากปัจจัยต่าง ๆ ได้แก่ สภาวะอากาศและปัจจัยสภาพ ความเสี่ยงในพื้นที่ เพื่อประสานและบูรณาการหน่วยงานพลเรือน ทหาร ตำรวจ เครือข่ายอาสาสมัคร จิตอาสา ภาคเอกชน เตรียมพร้อมทรัพยากร เครื่องมืออุปกรณ์และแผนเผชิญเหตุ โดยให้ความสำคัญในการแจ้งเตือน พร้อมเข้าช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบ ประสานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ให้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด รวมทั้งสร้างการรับรูปให้กับประชานชนในทุกช่องทาง ทั้งในรูปแบบที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ เช่น สื่อสังคมออนไลน์ วิทยุชุมชน หอเตือนภัย หอกระจายข่าวประจำหมู่บ้าน 3. ประชาสัมพันธ์ถึงประชาชนในพื้นที่ หากพบเห็นหรือได้รับผลกระทบ และต้องการความช่วยเหลือเมื่อเกิดสถานการณ์ภัยพิบัติ สามารถแจ้งเหตุผ่านทางโทรศัพท์สายด่วน 1784 หรือแจ้งผ่านไลน์ “ปภ.รับแจ้งเหตุ 1784” โดยดำเนินการเพิ่มเพื่อน Line ID @1784DDPM ตลอด 24 ชั่วโมง 4. ให้พิจารณาใช้อุปกรณ์เตือนภัยที่มีในพื้นที่ เช่น หอเตือนภัย หอกระจายข่าว เครื่องรับสัญญาณเตือนภัยผ่านดาวเทียม เพื่อแจ้งเตือนประชาชน 5. รายงานผลการปฏิบัติในการเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์ ให้กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดระยองทราบ ผ่านสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดระยอง และหากเกิด สาธารณภัยขึ้นในพื้นที่ ให้รายงานสถานการณ์ความเสียหาย ผลกระทบที่เกิดกับประชาชน และการให้ความช่วยเหลือ ในเบื้องต้น ให้ทราบในทันที ทางหมายเลขโทรศัพท์/โทรสาร 0 3869 4129 , 34 และรายงานทุกระยะ จนกว่าสถานการณ์จะสิ้นสุด (นายยุทธพล องอาจอิทธิชัย) รองผู้ว่าราชกาจังหวัดระยอง ปฏิบัติราชการแทน ผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง ผู้อำนวยการจังหวัด
รูปภาพประกอบ
วิดีโอประกอบ
< Back